FR06006

อุปกรณ์แจ้งเหตุไฟไหม้

  • BRAND :
  • Notifier
  • MODEL :
  • NBG12S

อุปกรณ์แจ้งเหตุไฟไหม้ สวิชเตือนไฟไหม้, สวิทช์ไฟฉุกเฉิน, สัญญาณเตือนภัยไฟไหม้, ระบบเตือนไฟ,

รุ่น
Qty

DETAILED DESCRIPTION

อุปกรณ์แจ้งเหตุไฟไหม้ Notifier รุ่นNBG12S
- อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Pull Station)
- เป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ แบบธรรมดา (Conventional)
- เป็นชนิดการทำงานแบบ Single-action
- ใช้แจ้งเหตุด้วยการใช้มือกดสวิทซ์ลง
- มีตัวอักษรคำว่า ?FIRE? เห็นได้ชัดเจน
- มีกุญแจ สำหรับไขล็อคการกดอุปกรณ์ กับไขคืนค่าการทำงานการกดแจ้งเหตุ
- ตัวอุปกรณ์มีสีแดง
- ตัวอุปกรณ์ทำจากวัสดุ Polycarbonate ที่ทนทาน (Durable)
- รองรับแรงดันไฟฟ้าปกติ 24 โวลต์ดีซี
- สามารถรับกระแสไฟเข้าได้ 0.25 แอมป์ ที่ 30 โวลต์เอซี หรือดีซี
- สำหรับการใช้งานในร่มและแห้ง
- รองรับการต่อเข้ากับคีย์สวิทซ์ (Keyswitch) สำหรับใช้ไขแจ้งสัญญาณให้ระบบไปสั่งงานให้อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนทุกตัวทำงานพร้อมกัน (General Alarm)
- ได้รับมาตรฐาน UL ,ULC Listed ,MEA ,CSFM ,FM Approved

 


ข้อแนะนำการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

     • อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนไม่ไช่อุปกรณ์ป้องกันชีวิต มีไว้เพื่อป้องกันทรัพย์สินเท่านั้น และอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
ต้องติดตั้งในระดับความสูงไม่เกิน 4.00 เมตร ยกเว้นให้ติดตั้งในระดับความสูงเกินกว่า 4.00 เมตรได้ แต่ต้องคำนวณตามหลักวิศวกรรม ทั้งนี้ต้องสูงไม่เกิน 6.00 เมตร

     • อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดจุด ต้องติดตั้งในระดับความสูงไม่เกิน 10.50 เมตร สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง
ต้องติดตั้งในระดับความสูงไม่เกิน 25.00 เมตร ถ้าฝ้าเพดานหรือหลังคามีความสูงเกิน 25.00 เมตร ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสงหลายระดับ

     • อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Alarm Box) อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือต้องติดตั้งในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน และอยู่ในพื้นที่ ทุกทางออก และทางหนีไฟ
ของแต่ละชั้นของอาคารที่เข้าถึงได้สะดวก ติดตั้งอยู่สูงจากพื้นระหว่าง 1.20-1.30 เมตร โดยระยะระหว่างอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือไม่เกิน 60.00 เมตร (วัดตามแนาทางเดิน)

     • อุปกรณ์ให้เสียง เครื่องกำเนิดเสียงอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้สัญญาณเสียงอพยพในสถานที่ใดที่มีเสียงสัญญาณความดังของเสียงสัญญาณต้องดังกว่าเสียงรบกวน
เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 15 dB เป็นระยะเวาลาไม่น้อยกว่า 60 วินาที และระดับความดังของเสียงที่จุดใดฯ ต้องไม่น้อยกว่า 65dB และไม่เกิน 120dB สำหรับสัญญาณเสียง
ที่ต้องการปลุกผู้อาศัยที่กำลังหลับอยู่ หรือใช้อุปกรณ์แจ้งเหตุอื่น ที่เหมาะสำหรับผู้อาศัยที่ด้อยสมรรถภาพทางการได้ยิน เช่นอุปกรณ์สั่นสะเทือนชนิดสอดใต้หมอน

ตัวอย่างพื้นที่ที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษพร้อมทั้งชนิดอุปกรณ์ตราจจับที่แนะนำให้ใช้

1.) พื้นที่หลับนอน - อุปกรณ์ตรวจจับควัน
2.) ห้องซักรีด ห้องน้ำ - อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
3.) ห้องครัว - อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
4.) ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง - อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนหรืออุปกรณ์ตรวจจับควันหรือเปลวไฟ
5.) ที่จอดรถ - อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

TECHNICAL INFORMATION

มาตรฐานการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้.pdf

ข้อแนะนำการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้.pdf

image_1455087150_prouduct_(0).pdf

แชทผ่านไลน์