ถ้าได้ยินคำว่าอุปกรณ์จราจรบนท้องถนน กรวยจราจรอาจจะเป็นอุปกรณ์แรกๆที่ใครๆก็นึกถึง กรวยจราจรเป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายหยิบวางง่าย หน้าที่หลักๆของกรวยจราจรก็คือใช้เพื่อแบ่งเขตแดนถนน ใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน ใช้เพื่อบ่งบอกพื้นที่เขตก่อสร้าง หรือใช้เพื่อป้องกันเขตพื้นที่ห้ามเข้า กรวยจราจรที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องใช้สีส้มสีเดียว เพราะตามหลักสากลกรวยจราจรนั้นมีหลายสี เช่น ส้ม เหลือง ชมพู และแดง เพื่อให้มองเห็นได้ง่าย กรวยจราจรสีแดงและสีส้มจึงเป็นสีที่นิยมมากที่สุด เพราะสะดุดตากว่านั่นเอง แต่ปัจจุบันก็ยังมีสีอื่นๆอีก อาทิ กรวยสีเขียวมะนาว(lime green) มีการผสมสารfluorescentจึงเป็นสีสว่าง กรวยจราจรอาจจะมีคาดแถบสะท้อนแสง เพื่อมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ยานพาหนะ และพนักงานก่อสร้าง พนักงานซ่อมบำรุง ที่กล่าวมาดูเหมือนกรวยจราจรจะเป็นอุปกรณ์ธรรมดาง่ายๆ จนทำให้เราคิดว่ากรวยจราจรจะวางตรงไหนก็ได้แล้วแต่ใจต้องการ แต่ความเป็นจริงแล้วการจัดวางกรวยจราจรไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย บุคคลทั่วไปจะจัดวางกรวยจราจรโดยพลการไม่ได้หากไม่มีความเชี่ยวชาญ เพราะจะทำให้ผู้ใช้รถเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และยังผิดตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก ซึ่งมีอัตราโทษเปรียบเทียบปรับ แม้ความผิดอาจจะไม่ได้ร้ายแรงมากแต่ที่ร้ายแรงกว่าคือ การวางกรวยจราจรโดยพลการอาจจะทำให้ผู้ที่สัญจรไปมาไม่ได้รับความปลอดภัย และอาจเป็นการกีดขวาง ส่วนกรวยจราจรที่อยู่บนถนนหลวงนั้นเป็นทรัพย์สินของราชการ คนทั่วไปไม่ควรหยิบจับหรือเคลื่อนย้าย การเข้าไปหยิบจับมาเล่นแบบไม่เหมาะสม เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ตักเตือน แถมยังเปรียบเทียบปรับเราได้ด้วย ส่วนพื้นที่ส่วนบุคคล เราสามารถใช้กรวยจราจรแนะนำการจราจรได้ การ มีไว้ในครอบครอง ไม่ผิดกฎหมาย ใช้ได้ตามความเหมาะสม ปกติกรวยจราจรมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาด 50 70 80 90 100 ซม. ข้อมูลเพิ่มเติม กดที่นี่